Investment Planner (IP)

     หลายคนอาจไม่ทราบว่าปัจจุบันนี้มี ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับด้านการลงทุนที่เรียกว่า Investment Planner (IP) หรือบางคนเคยได้ยินมาบ้างแล้ว แต่ยังสับสนว่า Investment Planner (IP) กับ Investment Consultant (IC) ต่างกันอย่างไร ผมนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเรียบเรียง พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็นจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมา ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบวิชาชีพและบุคคลทั่วๆไปครับ

     Investment Planner (IP) ถือเป็นใบอนุญาตประเภทล่าสุด ที่สำนักงาน ก.ล.ต. ประกาศให้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2557 ใบอนุญาตนี้มีความครอบคลุมมากกว่า Investment Consultant (IC) ในด้านการทำงานที่ขยายขอบเขตไปจนถึงการ จัดทำแผนการลงทุน ตามเงื่อนไขเฉพาะของลูกค้า โดย เน้นไปที่การสร้างความมั่งคั่งให้ลูกค้า เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินต่างๆได้

การจำแนกขอบเขตการทำหน้าที่
A  แนะนำผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงลูกค้า
B  แนะนำเบื้องต้นให้ลูกค้าทราบถึงแนวคิด Basic Asset Allocation
C  จัดพอร์ตการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง
IC สามารถให้บริการได้เฉพาะ A และ B

ส่งผลให้ ลูกค้าที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับเดียวกัน (ตามผลคะแนน suitability test) จะได้รับคำแนะนำจาก IC ในแบบเดียวกัน
ส่วน IP สามารถให้บริการได้ทั้ง A, B, Cโดย IP มีหน้าที่สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าแต่ละรายในเชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อนำมาประกอบกับการจัดพอร์ตการลงทุนในผลิตภัณฑ์ในตลาดทุนแบบเจาะจงที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และวัตถุประสงค์การลงทุนของลูกค้าแต่ละราย ทำให้พอร์ตการลงทุนที่แนะนำสำหรับลูกค้าแต่ละราย และแต่ละเป้าหมาย จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป

ผมขออนุญาตยกตัวอย่างเปรียบเทียบแบบนี้นะครับ

IC เปรียบเสมือน คนขายเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่แนะนำเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับลูกค้า ตามมาตรฐานการวัดขนาดที่ใช้ร่วมกันกับลูกค้าทุกคน ทำให้ลูกค้าที่มีรูปร่างใกล้เคียงกันอาจได้รับคำแนะนำให้ซื้อชุดแบบเดียวกัน แม้ว่าความต้องการใช้เสื้อผ้าจะแตกต่างกันออกไป ถ้าจำนวนแบบของชุดที่มีขายในร้านมีจำนวนไม่มากนัก ก็มีโอกาสที่ลูกค้าจะได้คำแนะนำให้ซื้อชุดที่เหมาะสมกับความต้องการน้อยลงไป บริการรูปแบบนี้น่าจะเหมาะกับลูกค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการเลือกซื้อเสื้อผ้า ไม่ต้องการลงลึกในรายละเอียดมากนัก หรือเป้าหมายการใช้เสื้อผ้านั้นอาจไม่สำคัญมาก

ขณะที่ IP เปรียบเสมือน ช่างตัดเสื้อผ้า ที่จะต้องวัดขนาดลูกค้าอย่างละเอียด และ ถามเป้าหมายของลูกค้า ว่าจะสวมใส่ไปในโอกาสอะไร มีความชอบรูปแบบไหนหรือมีข้อจำกัดใดเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อที่จะตัดเย็บชุดได้สอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด เมื่อต้องการแก้ไข หรือ ปรับเปลี่ยน ในอนาคตก็มีโอกาสจัดการได้ การให้บริการนี้ เหมาะกับลูกค้าที่ใส่ใจในรายละเอียด หรือมีเป้าหมายที่ต้องการใช้ชุดในงานสำคัญๆ

อย่างไรก็ตาม การเปรียบเทียบนี้เป็นความเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ของผมเอง อาจจะแตกต่างจากผู้รู้ท่านอื่นๆ ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณของตนเองประกอบด้วยนะครับ


หากต้องการเป็น Investment Planner ต้องทำอย่างไร?

คุณสมบัติทั่วไป
1.ต้องมีวุฒิปริญญาตรี (สาขาใดก็ได้)

2. เป็น ผู้แนะนำการลงทุนด้าน “ตลาดทุน” หรือ นักวิเคราะห์การลงทุนด้าน “ตลาดทุน”
คำว่าด้าน “ตลาดทุน” นั้น หมายถึง การครอบคลุม ตราสารทุน ตราสารหนี้ กองทุนรวม ทั้งทั่วไป และ ซับซ้อน รวมถึง สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่ง ปัจจุบัน ผู้แนะนำการลงทุนด้าน “ตลาดทุน” ก็คือ IC Complex ประเภทที่ 1 นั่นเอง สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับ IC Complex ได้ที่ www.cmsk-academy.com/article/172/newic2017

3. สอบผ่านความรู้ด้านการวางแผนการลงทุน ได้แก่ หลักสูตรนักวางแผนการเงิน (Certified Financial Planner, CFP)

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และ จรรยาบรรณ
เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง อ่านได้จาก www.cmsk-academy.com/kxc3R

ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน
เนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้าง อ่านได้จาก www.cmsk-academy.com/cCHSI


สรุปได้ว่า หากต้องการได้ใบอนุญาต Investment Planner (IP)

1. ผู้ที่ยังไม่มีใบอนุญาตใดๆเลย จะต้องสอบผ่าน IC Plain Products (P1), IC Complex Products: Bond and
Mutual Funds (P2), IC Complex Products: Derivatives (P3), CFP Module 1, CFP Module 2

2. ผู้ที่เคยมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทนด้านหลักทรัพย์ (ปัจจุบันจะกลายเปิ่น IC Complex 2) จะต้องสอบ
ผ่าน IC Complex Products: Derivatives (P3), CFP Module 1, CFP Module 2 เพิ่มเติม

3. ผู้ที่เคยมีใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทนด้านตลาดทุน (ปัจจุบันจะกถายเปิน IC Complex 1) จะต้องสอบผ่าน
CFP Module 1, CFP Module 2 เพิ่มเติม


ความสำคัญและประโยชน์จากการเป็น IP
        การลงทุนที่ประสบความสำเร็จจะต้องมีเป้าหมาย ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทำให้การลงทุนควรจะต้องแตกต่างกันไป เช่น เป้าหมายการลงทุน เพื่อมีชีวิตที่สุขสบายหลังเกษียณ และ เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้ลูก เป็นเป้าหมายที่แตกต่างกัน แม้ผู้ลงทุนเป็นคนเดียว ก็ควรมีพอร์ตการลงทุนที่ต่างกัน และแม้ว่าเป้าหมายแบบเดียวกัน แต่เป็นของคนละคนกัน ย่อมไม่เหมือนกัน

        ยกตัวอย่างเช่น ระยะเวลาการลงทุน, ความสำคัญของเป้าหมาย และ อัตราเงินเฟ้อ (การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าที่จำเป็นสำหรับการอยู่อาศัย ไม่เท่ากับ การเพิ่มขึ้นของราคาค่าเล่าเรียน) ที่ต่างกัน ส่งผลให้อัตราผลตอบแทนในการลงทุนที่ต้องการและความผันผวนของแต่ละพอร์ตการลงทุนที่ยอมรับได้ ไม่เท่ากัน

หากการลงทุนเพื่อเป้าหมายเหล่านี้ของแต่ละคน มีการออกแบบมาเหมือนกันแล้ว ย่อมไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก

        Investment Planner จึงมีบทบาทที่สำคัญ เนื่องจากการลงทุนให้มีประสิทธิภาพและสร้างโอกาสให้ผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายมากขึ้นนั้น ต้องการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก ไม่ใช่แค่พิจารณาความสามารถในการรับความเสี่ยงเพียงอย่างเดียว ตามแนวทางที่ Investment Consultant (IC) แนะนำ

ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาตนเอง และสร้างโอกาสการทำงานให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่ต้องการของลูกค้าและสถาบันการเงินต่างๆมากขึ้น ผมแนะนำให้พยายามให้มีใบอนุญาตผู้วางแผนการลงทุนไว้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันและอนาคตครับ

ดร. ชาติชาย มีสุขโข CFP®

สนใจอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับ IP
www.cmsk-academy.com
หรือ โทร. 092-270-2115

ขอบคุณข้อมูลเกี่ยวกับ Investment Planner จาก www.set.or.th