• หน้าแรก
  • เกี่ยวกับเรา
    • ภาพรวม
    • ทีมวิทยากร
  • หลักสูตรอบรม
    • หลักสูตรอบรมการวางแผนการเงิน CFP®
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • หลักสูตรเตรียมความพร้อมเพื่อสอบ
    • Module 1
    • Module 2 หลักสูตรเดิม
    • Module 2 หลักสูตรปรับปรุงใหม่
    • Module 3
    • Module 4
    • Module 5
    • Module 6
    • E-Learning
    • ทบทวนหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®
    • เตรียมสอบใบอนุญาตผู้แนะนำการลงทุน IC
    • เพิ่มความรู้และทักษะการเงิน
  • อบรมภายในองค์กร
    • หลักสูตรอบรมภายในองค์กร (In-House)
  • สมัครอบรม
    • หลักสูตรอบรมและทบทวนการวางแผนการเงิน
    • คอร์สเรียนออนไลน์ E-Learning
  • ปฏิทิน
  • กิจกรรม
  • ข้อมูลควรรู้
    • บทความ
    • Investment Planner (IP)
    • Investment Consultant (IC)
    • About CFP
    • คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP®
      • ข้อกำหนดด้านการศึกษา
      • ข้อกำหนดด้านการสอบ
  • ความประทับใจ
  • ติดต่อเรา

แผนเก็บเงินแต่งงานด้วยเงินสองเรา

Post Title
19 ก.พ. 2562
วันนี้เราจะมาพูดคุยในเรื่องเกี่ยวกับความรักกันครับ

 หลังจากที่คนสองคน ตัดสินใจว่าจะใช้ชีวิตร่วมกัน สิ่งที่คู่รักจะต้องตกลงกันก็คือเรื่องแต่งงาน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่หลายคู่กังวล เพราะในปัจจุบัน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานแต่งงานในความฝันของหลายคน ตามมาด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นตามไปด้วย ไม่รวมค่าสินสอดซึ่งอาจจะไม่น้อยกว่าค่างานแต่งอีก

 อย่างไรก็ตามวันนี้ผมไม่ได้มาแนะนำเรื่องว่าจะจัดการค่าใช้จ่ายงานแต่งอย่างไร แต่จะมาให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนเก็บเงินแต่งงานครับ

 ตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นค่าโรงแรม ค่าอาหาร ค่าพิธีการ ดอกไม้ พรีเว้ดดิ้ง ชุด ค่าแต่งหน้า ฯลฯ คำนวณออกมาเป็นตัวเลข เช่น 3 แสน 5 แสน หรือเป็นหลักล้าน แล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละคู่ครับ

(แนะนำว่าควรเผื่อเอาไว้ด้วยอีก 10-20% ของค่าใช้จ่ายที่ประเมินไว้เพราะมีความเป็นได้ค่อนข้างสูงที่หลายอย่างจะไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เช่น จำนวนแขก เป็นต้น)

ส่วนค่าสินสอดก็คุยกันให้ชัดเจนว่ายินดีที่เท่าไร เพราะถ้ายิ่งสูง ระยะเวลาเก็บเงินก็ยิ่งนานไปด้วย สาวๆคงไม่อยากแต่งงานช้า ก็ต้องอย่าไปเรียกหนุ่มๆสูงนักนะครับ

 หลังจากได้ตัวเลขมาแล้ว อยากให้ทั้งคู่ คุยกันเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบครับ ว่าใครจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนไหน หรือจะแบ่งกันไปเลยว่าคนละ 50:50 หรือแล้วแต่ตกลงกันตามรายได้ เป็นต้น  สำหรับสินสอดคงต้องเป็นภาระของฝ่ายชายรับไป

เช่น ค่าใช้จ่ายรวมที่เผื่อแล้วจำนวน 600,000 บาท + ค่าสินสอด 500,000 บาท ดังนั้นฝ่ายช่ายมีเป้าหมายรวม 8 แสน และฝ่ายหญิง 3 แสน

เช่น ทั้งคู่มีรายได้คนละ 50,000 บาท ออมได้เดือนละ 20,000 บาท แบบนี้อาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีกว่าๆถึงจะเก็บได้  เพราะฉะนั้นหนุ่มๆถ้าตั้งใจจะไปขอใครอาจจะต้องรีบเก็บเงินตั้งแต่เริ่มคบกันครับ ไม่งั้นกว่าจะได้แต่งงาน ต้องใช้เวลาหลายปี (จะให้ดีเปิดบัญชีเพื่อการสมรสแยกเอาไว้เลย)

 หากคุณวางแผนแต่งงานในอีก 6 เดือน คุณอาจจะเป็นบัญชีสำหรับออมเพื่อการแต่งงานโดยเฉพาะ และฝากในบัญชีเงินฝากแบบพิเศษทีให้ดอดเบี้ยสูง หรือลงทุนในกองทุนรวมตลาดเงินหรือตราสารหนี้ระยะสั้น ซึ่งดีกว่าการฝากไว้ในออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำ

แต่หากคุณวางแผนเก็บเงินเกิน 1 หรือ 2 ปี คุณอาจจะลงทุนในกองทุนรวมตราสารหนี้ระยะกลาง หรือพอร์ตการลงทุนความเสี่ยงต่ำ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงขึ้นมาอีกหน่อยและชนะเงินเฟ้อ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถเก็บเงินได้ไวขึ้น เดือนหนึ่งผมว่าก็มีค่านะครับ แต่อย่าลืมว่าการลงทุนมีความเสี่ยงนะครับ คุณควรทำความเข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนด้วย

สุดท้ายสำคัญที่วินัยด้วยไม่ใช่ว่าเก็บๆไปหยุดลองกลางคันเอาไปใช้เรื่องอื่นก่อน

ถือว่าได้ลองใจคู่รักของคุณไปในตัว ว่าเขามีความตั้งใจเก็บออมเงินและจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับคุณหรือไม่ครับ

 หวังว่าจะเป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่ช่วยให้คู่ของคุณผ่านช่วงเวลานี้ไป และเข้าพิธีแห่งความสุขไปด้วยกัน


เรื่องเงินที่ต้องคุยกันให้เคลียร์ก่อนแต่งงาน

 ก่อนที่จะแต่งงานและใช้ชีวิตร่วมกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีอิสระในการใช้ชีวิตของตนเอง แต่เมื่อจะต้องมาใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว อาจจะมีบางเรื่องที่ชอบหรือไม่ชอบเกิดขึ้นได้ ดังนั้นมีหลายเรื่องมากมายที่คนสองคนต้องคุยกันก่อนแต่งงาน

 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเรือนหอ งานบ้าน เรื่องมีลูก ศาสนา นิสัย แต่เรื่องหนึ่งที่สำคัญมากและอาจส่งผลถึงการคบกันในอนาคตได้ นั่นก็คือเรื่องการเงิน

 วันนี้ผมจึงขอแนะนำเรื่องเงินที่คู่รักควรจะตกลงกันให้ได้ก่อนแต่งงานเพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เริ่มจากเรื่องแรกครับ

 ก่อนแต่งงานเราอาจจะใช้เงินส่วนตัวบ้าง แชร์กันบ้าง แต่พออยู่ร่วมกัน รายจ่ายหลายอย่างในบ้านหลังเดียวกัน ก็คงจะต้องมีความรับผิดชอบร่วมกัน การเปิดบัญชีร่วมเปิดบัญชีร่วมเพื่อเป็นเงินกองกลางเอาไว้ใช้จ่ายร่วมกัน จะช่วยให้สามารถวางแผนการใช้จ่ายได้ดีขึ้น เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าซ่อมแซมบ้าน ค่าอาหารการกินในบ้าน หรือแม้กระทั่งเวลาทานข้าวนอกบ้าน ไม่รู้ว่าใครจ่าย หรือจะแชร์กัน ก็ใช้เงินกองกลางในการใช้จ่ายได้เช่นกัน  หรืออาจะเป็นบัญชีร่วมเพื่อซื้อทรัพย์สินร่วมกัน อย่างรถ บ้าน เป็นต้น

 ซึ่งทั้งสองท่านก็ควรจะตกลงกันด้วยว่าแต่ละเดือนจะฝากเข้าบัญชีร่วมคนละเท่าไรไว้เป็นค่าใช้จ่ายหรือเงินออมเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

 อย่างไรก็ตามแม้การแต่งงานจะเป็นการใช้ชีวิตคู่กัน บางคู่อาจจะยังใช้บัญชีส่วนตัวเพื่อเป็นบัญชีใช้จ่ายส่วนตัว ยังคงมีอิสระในการใช้เงิน แต่ควรอยู่ในขอบเขตที่วางแผนเอาไว้ด้วย

 2. คุยกันเรื่องหนี้สินของตนเอง

เรื่องหนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่อีกฝ่ายอาจไม่ทราบ หรืออาจจะไม่อยากให้ทราบ ซึ่งเมื่อแต่งงานกันแล้ว จะกลายเป็นภาระที่คู่ของคุณจะเข้ามาร่วมรับผิดชอบด้วย ดังนั้นทางที่ดีควรเปิดเผยภาระของตนเองก่อนแต่งงาน และควรวางแผนการจ่ายชำระหนี้ให้ชัดเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต

 หรือในบางกรณีอาจจะจดทะเบียนสมรสหลังจากที่คู่ของคุณจัดการเรื่องหนี้จบแล้วหรือใกล้จะเรียบร้อยแล้วก็ได้

 3. ตรวจเช็คเครดิตบูโร

เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทย แต่แนะนำว่าควรทำอย่างยิ่ง เพราะการตรวจสอบ Credit Scoring จะช่วยบอกพฤติกรรมการใช้จ่ายของอีกฝ่ายได้

บางครั้งคู่รักของคุณอาจมีรายจ่ายบางรายการที่ไม่ต้องการบอกเพื่อลดเสียงบ่นของอีกฝ่าย แต่รายจ่ายเหล่านั้นอาจส่งผลต่อการใช้เงินของครอบครัวในอนาคตก็เป็นได้

 ซึ่งหากเราทราบพฤติกรรมของอีกฝ่าย แนะนำว่าทั้งคู่ควรจะมานั่งคุยกันเพื่อช่วยกันออกแบบการใช้เงินร่วมกัน ซื้อได้นะแต่ขอเดือนละเท่านั้นเท่านี้ว่าไป

 ยิ่งถ้าอนาคตจะซื้อบ้านหรือคอนโด เครดิตที่ไม่ดีจะส่งผลให้คุณไม่สามารถขอสินเชื่อ หรือหากขอได้ แต่ยังไม่สามารถแก้ไขพฤติกรรมการใช้เงิน อาจส่งผลให้เกิดการผิดนัดผ่อนชำระ และกลายเป็นปัญหาทางการเงินในอนาคตของครอบครัวได้

 4.  แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบกันให้ชัดเจน

โดยทั่วไปแล้ว คู่สมรสควรแบ่งหน้าที่กันให้ชัด เช่น ใครดูแลจัดการเรื่องรับจ่ายเงินของครอบครัว ใครรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าใช้จ่ายบุตร  รวมไปถึง ใครจะเป็นผู้เก็บ Username Password  ของบัญชีต่างๆ โดยที่ต้องมั่นใจว่าคุณต้องเก็บข้อมูลดังกล่าวไว้ในที่ๆปลอดภัย และทั้งคู่ต้องรู้ว่าอยู่ที่ไหนด้วย

5. คุยกันเรื่องรายได้ของทั้งสองคนต่อปี

จะแต่งงานกันแล้ว เราก็ควรจะทราบรายได้ของอีกฝั่งด้วย ซึ่งถ้าเราทราบรายได้ทั้งปี ก็จะช่วยให้สามารถตัดสินใจได้ว่าครอบครัวเราควรซื้อหรือไม่ควรซื้ออะไร ควรจะอยู่ที่ไหน และจะใช้จ่ายอย่างไร ยิ่งถ้ารายได้ไม่แน่นอน ยิ่งต้องคุยกันให้ชัด

 6. ตั้งเป้าหมายการเงินให้ชัดเจน

ถึงเวลาต้องคุยกันถึงเป้าหมายการเงินของครอบครัวร่วมกัน เช่น การซื้อบ้านใหม่ เป้าหมายเกษียณ รวมไปถึงสไตล์การลงทุน และที่สำคัญต้องรวมเป้าหมายการเงินของแต่ละคนด้วย เพราะเชื่อว่าแต่ละฝ่ายต่างมีความฝันของตนเองเช่นกัน ดังนั้นหากคุยกันตั้งแต่เริ่ม เราก็อาจจะวางแผนให้ทั้งตนเอง และของครอบครัวบรรลุไปพร้อมๆกันได้

 7. แผนสำรองหากคู่รักกลายเป็นคู่ร้าง



แม้จะเป็นเรื่องที่น่าจะคุยยากสุด แต่ก็อาจเป็นไปได้เช่นกันอย่างที่เห็นตัวอย่างของหลายๆคู่ ดังนั้นจึงควรเตรียมแผนเผื่อเอาไว้ด้วยว่าถ้าต้องเลิกกัน จะแบ่งทรัพย์สินกันอย่างไร ควรจะต้องให้ใครเป็นผู้ถือทรัพย์สิน หรือถือร่วมกัน ลูกใครจะดูแล เป็นต้น

 แม้จะเป็นเรื่องที่คุยกันไม่ง่าย แต่จำเป็นที่ต้องคุยกันตั้งแต่เริ่ม ตกลงกันให้เคลียร์ เพื่อว่าในวันที่ใช้ชีวิตร่วมกันจะได้ลดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และใช้ชีวิตรักอย่างมีความสุขร่วมกันครับ


แผนการเงินที่ควรมีสำหรับคู่รัก

 คู่สมรสหลายๆคู่มักจะไม่พูดคุยกันเรื่องเงิน เพื่อจะหลีกเลี่ยงการทะเลาะกัน

และถึงแม้ว่าคุณจะมีความรู้ด้านการเงินก็ตามแต่เรื่องเงินระหว่างคู่รัก ก็ยังเป็นเรื่องที่คุยกันไม่ง่ายนัก ซึ่งนั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาใหญ่ในอนาคต เพราะแต่ละคนมีพฤติกรรมการใช้เงินของตัวเอง ที่สั่งสมมาหลายปี และมักจะใช้แบบอิสระมาตลอด แต่วันนี้ต้องมาร่วมตัดสินใจใช้เงิน คงเป็นเรื่องลำบากไม่น้อย ดังนั้นจึงควรพูดกันอย่างเปิดอกตั้งแต่วันแรกๆ

 ผมมีข้อแนะนำในการจัดการเรื่องเงินของคู่สมรสมาให้ครับ

 1. Merge Your Financial Plan รวมแผนการเงินเป็นหนึ่งเดียวกัน

ก่อนแต่งงานแต่ละคนต่างมีเป้าหมายการเงินของตนเอง แต่หลังจากอยู่ด้วยกันแล้ว นอกจากเป้าหมายส่วนตัวแล้ว เราจะมีเป้าหมายของครอบครัวเพิ่มขึ้นมา ดังนั้นทั้งคู่จึงต้องมีการทำแผนการเงินขึ้นมาใหม่ที่บรรจุเป้าหมายส่วนตัวและของครอบครัวไปพร้อมๆกัน เพื่อให้สามารถวางแผน ให้ทั้งสองเป้าหมายบรรลุผลไปด้วยกันได้

 2. Track Your Spending เริ่มทำบันทึกรายรับรายจ่าย

การจัดรายรับรายจ่ายของตนเองและครอบครัวจะช่วยให้คู่ของคุณเห็นแหล่งที่มาของรายได้ และพฤติกรรมการใช้เงินของตนเองและครอบครัว ซึ่งจะช่วยให้เห็นรายจ่ายบางรายการที่มากเกินไปหรือรายจ่ายที่คุณไม่รู้ตัวได้ และช่วยให้ทำงบประมาณของครอบครัวได้ด้วย

 หลังจากที่ทั้งคุณทราบรายได้ รายจ่ายของครอบครัว และจัดสรรเงินออมเพื่อเป้าหมายทางการเงินแล้ว เชื่อว่าเราเองก็ยังอยากมีชีวิตในแบบที่เราต้องการ อยากมีอิสระในการซื้อของที่เราชอบ หรือเข้ากิจกรรมต่างๆอยู่ ดังนั้น หากคุณจัดสรรเงินเพื่อเป้าหมายแล้ว คุณก็จะสามารถใช้เงินในส่วนเกินได้อย่างเต็มที่ โดยที่ไม่กระทบกับแผนการเงินของครอบครัว ที่สำคัญคุณก็จะไม่บ่นเขา เพราะเราตกลงกันแล้วครับ :D

ตกลงกันครับว่าใครจะเป็นผู้ดูแลเรื่องรายจ่ายต่างๆในแต่ละวัน แต่ละเดือนของครอบครัว แต่ไม่ใช่ว่ามอบหมายหน้าที่ไปแล้วจะไม่เข้าไปเหลียวแลเลยนะครับ คุณก็ต้องช่วยกันดูด้วย และควรมีการทบทวนเรื่องค่าใช้จ่ายกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง

 เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากเจ็บป่วยแน่ๆ แต่ถ้าหากจำเป็นต้องเข้ารักษาพยาบาล คุณเตรียมเงินสำหรับเป็นค่ารักษาหรือความคุ้มครองไว้เพียงพอหรือยัง เพื่อที่จะได้ไม่เป็นภาระของคนที่คุณรัก หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดมีใครคนใดคนหนึ่งต้องจากไปก่อน คุณเตรียมพร้อมสำหรับคนที่คุณรักไว้หรือไม่ เพราะฉะนั้นแนะนำว่าควรนำกรมธรรม์หรือสวัสดิการต่างๆที่คุณมีมาทบทวนอีกครั้งเพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้เหมาะสม และอัพเดทผู้รับผลประโยชน์ให้คนที่คุณต้องการจะให้ด้วย

 เพราะเราไม่รู้ว่าพรุ่งนี้เราจะยังอยู่หรือไม่ ดังนั้นหากไม่มีการวางแผนจัดการและส่งต่อทรัพย์สินที่ดี ในวันที่คนใดคนหนึ่งจากไป สิ่งของเหล่านั้นอาจตกไปยังผู้ที่คุณไม่ได้วางแผนไว้ก็เป็นได้ ดังนั้นอย่าลืมทำพินัยกรรมเพื่อยกให้กับบุคคลที่คุณรักด้วย

 หากรู้สึกว่าคุยกันไม่ลงตัว แนะนำให้ปรึกษาคนที่คุณเคารพหรือนักวางแผนการเงิน CFP ซึ่งจะมาเป็นคนกลางช่วยวางแผนการเงินอย่างเป็นระบบให้ได้ครับ

นี่เป็นเพียงคำแนะนำเล็กๆน้อยๆสำหรับจัดการเงินคู่สมรส อยากให้ลองนำเอาไปปรับใช้กับครอบครัวของคุณ เพื่อจะช่วยให้การเงินของครอบครัวเป็นไปอย่างราบรื่น อย่างน้อยก็ลดการทะเลาะกันไปได้อีกเรื่องก็น่าจะทำให้เรารักกันมากยิ่งขึ้นครับ


ปรับแผนการเงินอย่างไรดีเมื่อเริ่มมีลูก

 เมื่อคุณเริ่มมีลูก แผนการเงินก็ควรจะต้องปรับเปลี่ยนด้วย แต่ควรจะเตรียมการอย่างไรบ้าง วันนี้ผมมีคำแนะนำครับ

 การเลี้ยงลูกในปัจจุบัน มาพร้อมกับค่าใช้จายที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยรุ่นเราเด็กๆ แต่อย่าเพิ่งกังวลครับ หากคุณวางแผนได้ไวก็จะช่วยลดภาระได้มาก ก่อนอื่นเริ่มจากการทำรายรับรายจ่ายของครอบครัวก่อน หลังจากนั้นทำประมาณการค่าใช้จ่ายของบุตร

 การทำงบประมาณนี้จะช่วยให้คุณสามารถเตรียมเงินสำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละส่วนของครอบครัว รวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับบุตรได้ หากรายการใดมากเกิน หรือเกินความจำเป็นก็ควรจะปรับลดลง เป็นต้น

 ตรวจสอบกับบริษัทที่คุณทำงานว่ามีสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับบุตรหรือไม่ เช่น ค่าเล่าเรียนบุตร ค่ารักษาพยาบาลต่างๆ

 ประกันสังคมก็เช่นกัน บางคนอาจจะไม่ได้สนใจ แต่ก็ช่วยคุณได้ไม่น้อย อย่างค่าคลอดบุตร และเงินสงเคราะห์บุตร

รวมไปถึงค่าลดหย่อนภาษีที่รัฐสนับสนุน อย่างค่าลดหย่อนบุตร และค่าลดหย่อนใหม่อย่างการคลอดบุตร เป็นต้น


เราไม่สามารถการันตีได้ว่าเราจะทำงานหาเงินส่งลูกๆได้ไปจนจบ หรือเตรียมเงินไว้ให้พอสำหรับบุตรและคนที่คุณรักของคุณ ดังนั้นเพื่อเป็นการการันตีหรือสร้างทรัพย์สินไว้อีกก้อนหนึ่งในช่วงที่ลูกๆยังต้องพึ่งพาคุณ แนะนำว่าควรทำทุนประกันชีวิตไว้ให้กับคนที่คุณรักหรือลูกๆไว้อย่างพอเพียงจนกระทั่งสามารถปรับตัวได้ หรือสามารถส่งเสียจนเรียนจบทำงานหาเงินได้วยตนเอง


ก่อนมีบุตรคุณอาจจะอยู่กับคู่สมรสสองคน และมีบุพการีที่คุณรักและเคารพ แต่เมื่อมีบุตร คุณจะมีคนที่รักมากที่สุดอีกคนหรือหลายคนเพิ่มขึ้นมา เพราะฉะนั้นอย่าลืมเขียนพินัยกรรม หรือทบทวนพินัยกรรมให้ครอบคลุมคนที่คุณรัก และจัดสรรมรดกอย่างเหมาะสมด้วย


เมื่อสมาชิกเพิ่ม ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นก็ตามมา ดังนั้นจากเดิมที่คุณเตรียมเงินสภาพคล่องฉุกเฉินไว้ 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายสองคน คุณอาจจะต้องปรับเงินสภาพคล่องเพิ่มขึ้นเป็น  6-9 เท่าของค่าใช้จ่ายรวมสมาชิกใหม่ หรือมากกว่านั้นตามภาระและความกังวลที่เพิ่มขึ้น


จากการให้คำปรึกษาพบว่าหลายคู่ไม่ได้มีการเตรียมแผนการออมเพื่อเป็นค่าเรียนบุตรอย่างเหมาะสม ซึ่งพบว่าผู้ปกครองบางรายจะดึงจากรายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนตัดออกมาจ่ายค่าเทอม หากไม่มีก็ต้องจ่ายล่าช้าออกไป บางครั้งถึงขั้นที่โรงเรียนต้องส่งจดหมายมาตามเรียกเก็บค่าเทอม นั่นเป็นเพราะเขาไม่มีการวางแผนที่ดี


ดังนั้นจึงควรวางแผนออมเพื่อเป็นค่าเรียนลูกตั้งแต่เนิ่นๆ แนะนำว่าควรทยอยเก็บไปทุกเดือน เช่น เดือนละ 2,000 3,000 5000 หรือมากกว่านั้นตามแต่ราคาค่าเทอม ล่วงหน้าเพื่อเป็นค่าเทอมสำหรับบุตรโดยเฉพาะ หรือควรวางแผนออมตั้งแต่ก่อนคลอดเลยก็จะยิ่งดี


หลายคนที่พอมีลูกก็จะใช้จ่ายหรือเก็บออมให้ลูกจนลืมตัวเอง จนลืมไปว่าวันหนึ่งคุณก็ต้องใช้เงินเพื่อตัวเองเหมือนกัน เพราะฉะนั้นอย่างลืมเก็บออมเพื่อการเกษียณของตัวเองด้วย


หวังว่าคำแนะนำข้างต้นนี้จะช่วยให้คุณสบายใจยิ่งขึ้น และหันมาเตรียมความพร้อม เตรียมสิ่งดีๆให้กับลูกๆที่ท่ายรัก และช่วยให้ครอบครัวของคุณมีความมั่นคงและมีความสุขมากขึ้นครับ


Search our Blog

Recent Posts

Categories

Archive

  • CMSK
    Center of Money Skills and Knowledge.